ในปัจจุบันเราจะเห็นว่า “ต้นแบบ”มีอยู่ในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ “ครูต้นแบบ” ต่อ มาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า “ต้นแบบ” ว่ามี 2 นัย
นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย “แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล” การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น
ดังนั้นสิ่งที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้ คือ การที่เราสามารถแยกแยะได้ว่า ต้นแบบไหนดี ต้นแบบไหนที่ไม่ดี สามารถนำต้นแบบที่ดีมาเป็นแบบอย่างในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองให้ดี เพราะเมื่อเราจบไปในฐานะของความเป็นครู ใช่ ! เราย่อมเป็นต้นแบบหนึ่งที่เด็กนักเรียนของเราที่มองดูเรา ประพฤติ ปฏิบัติเหมือนเรา ถ้าเราเป็นต้นแบบที่ดี ก็จะสามารถช่วยให้ชาติมีเยาวชนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาและบริหารประเทศต่อไปได้