วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๕

สรุปบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้
           
ในปัจจุบันเราจะเห็นว่า ต้นแบบมีอยู่ในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบต่อ มาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ   พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล”               การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น 
ดังนั้นสิ่งที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้  คือ  การที่เราสามารถแยกแยะได้ว่า  ต้นแบบไหนดี  ต้นแบบไหนที่ไม่ดี  สามารถนำต้นแบบที่ดีมาเป็นแบบอย่างในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน  และเป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองให้ดี  เพราะเมื่อเราจบไปในฐานะของความเป็นครู  ใช่ ! เราย่อมเป็นต้นแบบหนึ่งที่เด็กนักเรียนของเราที่มองดูเรา  ประพฤติ  ปฏิบัติเหมือนเรา  ถ้าเราเป็นต้นแบบที่ดี  ก็จะสามารถช่วยให้ชาติมีเยาวชนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาและบริหารประเทศต่อไปได้ 

กิจกรรมที่ ๔

สรุปบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
           ในการเป็นภาวะผู้นำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน  เพราะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันสามารถสร้างความหายนะให้กับองค์กร
                แต่ในการเป็นผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ให้้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพราะผู้นำที่แท้นั้นต้องการจะเห็นทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขามีความสุข และได้รับชัยชนะอย่างแท้จริง ภาวะผู้นำกับการเสียสละเป็นสิ่งคู่กัน
               ดังนั้นผู้นำที่สามารถจัดกิจกรรมการบริหารในองค์กรของตนสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน "มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว" ก็จะทำให้องค์นั้นๆสามารถอยู่รอดในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง

กิจกรรมที่ ๓


ประวัติอาจารย์หม่อม
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เป็นปรมาจารย์ท่านแรกที่จะต้องเอ่ยถึงในฐานะผู้ก่อตั้งโขนธรรมศาสตร์ ให้เกิดขั้นในเมืองไทย ประวัติของอาจารย์คึกฤทธิ์ หรือ"ครูคึกฤทธิ์"ของโขนธรรมศาสตร์นั้น คงไม่ต้องการคำกล่าวขวัญอันใดมากนักแล้ว ในฐานะปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่รู้จักกันดี สำหรับโขนธรรมศาสตร์นั้นพูดสั้นๆแต่เพียงว่า ถ้าไม่มีอาจารย์คึกฤทธิ์ ก็คงไม่มีโขนธรรมศาสตร์เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ไม่มีอาจารย์คึกฤทธิ์แล้ว แต่โขนธรรมศาสตร์ยังพยายามดิ้นรนที่จะมีอยู่หรือดำรงอยู่ต่อไปให้ได้ตามเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ (เมื่อแรกตั้งโขนธรรมศาสตร์) ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ คงต้องพิสูจน์กันต่อไป
อาจารย์คึกฤทธิ์ มีความสำคัญต่อโขนธรรมศาสตร์ในฐานะผู้ก่อตั้ง ผู้อุปถัมภ์ ผู้อำนวยการฝึกซ้อม ผู้คัดบทการแสดง ผู้คัดเลือกการแสดง ผู้ทำการประชาสัมพันธ์ เรื่อยๆจนถึงผู้หางานทำให้กับบัณฑิตโขนธรรมศาสตร์ของท่านในอดีตที่ผ่านมา สิ่งสำคัญที่น่าบันทึกไว้ในที่นี้คือ ความสามารถใน การคัดเสือกตัวละคร(ว่าใครจะเหมาะสมกับบทใด)ของอาจารย์คึกฤทธิ์นั้น ไม่มีใครเทียมทานหรือแทนที่ได้ เช่นเดียวกับการคัดเลือกตอนที่จะแสดงแล้วปรับปรุงบทการแสดงให้เข้ากับความรู้สึก และความต้องการ ของผู้ชมส่วนใหญ่และเข้ากับบุคลิกความสามารถของผู้แสดงนั้น น่าจะเป็นส่วนส่งเสริมอันสำคัญที่ทำให้โขนธรรมศาสตร์โด่งดังต่อเนื่องกันได้หลายทศวรรษ
ถึงวันนี้แม้อาจารย์คึกฤทธิ์จะไม่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้แล้ว แต่วิญญาณแห่งความภาคภูมิใจในความเป็นไทยที่อาจารย์คึกฤทธิ์ทิ้งไว้ให้กับชาวโขนธรรมศาสตร์ ทั้งอดีตและปัจจุบันนี้ยังอยู่ และน่าจะมีอยู่มากพอที่จะทำให้ผู้แสดงทุกคนเชื่อว่า วิญญาณของอาจารย์คึกฤทธิ์จะยังคงอยู่กับชาวโขนธรรมศาสตร์ ทุกคน ในการแสดงทุกครั้งของโขนธรรมศาสตร์

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๒

๑.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ทฤษฎีภาวะผู้นำทฤษฎีทฤษฎีYตอบ เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกันทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้ 
                ๑.คนไม่อยากทำงานและหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                ๒.คนไม่ทะเยอทะยานและไม่คิดริเริ่มชอบให้การสั่ง
                ๓.คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์กร
                ๔.คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                ๕.คนมักโง่และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงินวัตถุเป็นเครื่องล่อใจเน้นการควบคุมการสั่งการเป็นต้น  
ทฤษฎี Y ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้ 
                ๑.คนจะให้ความร่วมมือสนับสนุนรับผิดชอบขยัน
                ๒.คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                ๓.คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
๔. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน


กิจกรรมที่ ๑

๑. นักศึกษาให้คำนิยามการบริหารการบริหารการศึกษา
             ตอบ   การบริหาร   หมายถึง  กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นดพื่ออให้เกิดสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและมีระบบที่เหมาะสม

ประวัติส่วนตัวของข้าพเจ้า

ชื่อ-สกุล นางสาวนุรยีนี  ดรอแม
ชื่อเล่น yeenee
วันเดือนปีเกิด  ๐๓  ธันวาคม  ๒๕๓๑
ที่อยู่  ๑๒๘  หมู่  ๖  ตำบล ปะลุรู   อำเภอ สุไหงปาดี  จังหวัด นราธิวาส ๙๖๑๔๐
รหัส ๕๑๑๑๑๑๓๐๙๓  ชั้นปีที่ ๓
คณะครุศาสตร์บัณฑิตสาชาวิชาภาษาไทย (๐๔)
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
ยามว่าง  อ่านหนังสือ , ฟังเพลง
สิ่งที่ชอบ ทำให้ตัวเองมีความสุข (รอยยิ้ม)
สิ่งที่เกลียดที่สุด  คนหักหลัง , พูดโกหก , นินทา
ความใฝ่ฝัน  อยากเป็นคุณครู
คติเตือนใจ   ความพยายามอยู่ที่ไหน  ความสำเร็จอยู่ที่นั้น