วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินการใช้บล็อกนี้

การประเมินการใช้บล็อก   แสดงความคิดเห็นของการใช้บล็อกดังนี้           

๑. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
              ตอบ  จากการทำและได้เรียนรู้ทำให้เราได้เรียนรู้จากการทำงานจริง ปฏิบัติจริง นำเสนอจริง ดังนั้นการเรียนวิชานี้ทำให้เราได้รียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยเรียนมาก่อน และได้เรียนรู้จากการเรียนวิชานี้
๒.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
             ตอบ  ได้เรียนรู้ในการทำหัวข้อบล็อกอย่างไรให้สวย และน่ารัก  การใส่ นาฬิกา ปฏิทิน จำนวนนับ การตกแต่งรูปภาพ การหาข้อมูลจากสื่อต่างๆ การลิงค์ไปหาคนอื่น การสร้างบล็ก การตกแต่ง การใส่VDO เป็นต้น

๓.นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
             ตอบ ในการเรียนรู้ทางบล็อกมีความสะดวกมาก เพราะหารเราขาดเรียน หรือมาเรียนไม่ได้ เราก็สามารถเปิดบล็อกของอาจารย์ แล้วเราก็ทำงานที่อาจารย์สั่งได้ โดยที่เราไม่ต้องมาถามด้วยตนเอง  และยังทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งที่เราไม่เคยเรียนมาก่อน และสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการสร้างสื่อ การเรียนการสอนในการออกฝึกประสบการณ์ได้

๔.นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก) ประเมินการใช้บล็อกนี้

สอบครั้งที่ ๒

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้                                             
 ๑.Classroom Management    หมายถึง การบริหารจัดการในชั้นเรียนการ (Classroom management ) ที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี     
๒.Happiness Classroom   หมายถึง   การจัดห้องเรียนให้มีความสุข                            
.Life-long Education  หมายถึง  การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)     การรับรู้ความรู้ ทักษะ   และเจตคติ    ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก            
 .formal Education   หมายถึง  การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ           
.Non-formal education   หมายถึง   การศึกษานอกระบบหมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning)                
. E-learning    หมายถึง     การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต                              
. Graded    หมายถึง    การเรียนระดับชั้น                        
. Policy education    หมายถึง        นโยบายการศึกษา                                                    
. Vision     หมายถึง   วิสัยทัศน์ คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด                                 
 ๑๐. Mission   หมายถึง     พันธ์กิจ มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธะกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์       
๑๑. Goals     หมายถึง   เป้าหมาย (GOAL)  คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ                                         
๑๒. Objective      หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ                
 ๑๓.backward design     หมายถึง     การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง                     
๑๔.effectiveness  หมายถึง    การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง  
๑๕. efficiency   หมายถึง  การทำงานอย่างมีประสิทธิผล                  
๑๖.Economy   หมายถึง    เศรษฐกิจ (Economy) คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค                       
๑๗. Equity   หมายถึง    ความเสมอภาพการสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน    
 ๑๘. Engagement หมายถึง   การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้น           
๑๙. project หมายถึง     แผนงาน เช่นโครงการ, โครงการวิจัย                       
๒๐.Actives  หมายถึง     การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา     
๒๑.Leadership    หมายถึง  ความสามารถในการเป็นผู้นำ               
๒๒. leaders   หมายถึง    ผู้นำ       
 ๒๓. Follows    หมายถึง  ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง   
 ๒๔. Situations  หมายถึง   สถานการณ์            
 ๒๕. Self  awareness  หมายถึง    การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้     
 ๒๖. Communication  การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร  มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ    
 ๒๗. Assertiveness   หมายถึง  การยืนยันในความคิดต           
๒๘. Time management   หมายถึง     การบริหารเวลา    
๒๙.  POSDCORB   หมายถึง    หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ ๗ ประการ คือ การวางแผน   การจัดองค์การ การบรรจุ  การสั่งการ  การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ         
 ๓๐.  Formal Leaders   หมายถึง  ผู้บังคับบันชาในหน่วยงานต่างๆ           
๓๑.  Informal Leaders   หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า                          
๓๒.  Environment    หมายถึง    สภาพแวดล้อม                             
๓๓. Globalization    หมายถึง  โลกาภิสวัตถ์   การแพร่หลายไปทั่วโลก                 
๓๔. Competency  หมายถึง   ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม    
 ๓๕. Organization Cultural   หมายถึง   ของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ       
๓๖. Individual Behavior หมายถึง    พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจ                           
๓๗.Group Behavior  หมายถึง   พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior) นอกจากจะศึกษาระดับกลุ่มบุคคลแล้ว อีกระดับหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี การจัดการสภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนพฤติกรรมที่หน่วยงานกำหนดให้ทำ และพฤติกรรมที่ต้องทำเร่งด่วน                        
๓๘. Organization Behavior    หมายถึง     พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้              
 ๓๙. Team working    หมายถึง    การทำงานเป็นกลุ่ม คือ บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกันและมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน” 
๔๐. Six Thinking Hats      หมายถึง     หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้  
.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น       
.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งๆนั้น      
  .สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์                 
 .สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี                                
 .สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม            
  .สีน้ำเงิน(Thinking about thinking)      หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด     
  ๔๑. Classroom Action Research      หมายถึง  การวิจัยในชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบ


 

. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  และครูก็จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   จะต้องมีความเมตตาและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญ ครูจะต้องเข้ากับเด็กได้ทุกคนและรู้รายละเอียดที่สำคัญในตัวนักเรียนด้วย  นอกจากนั้นการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียบกัน  รู้ว่าเด็กท่เราสอนอยู่ในวัยและชอบอะไร  เพื่อที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน
. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
     -  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
     -  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
     -  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
     -  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
     -  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
     -  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
     -  รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     -  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     -  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     -  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตราฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน 
ตอบ บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ ๔-๖ ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
 . การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค 
 ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
๖.๑ จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
 ๖.๑จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
๖.๒ จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (๑)การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (๒)สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(๑) และข้อ (๒) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบ คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
                 มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
๑.๑ มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
๑.๒ มีความซื่อสัตย์สุจริต
๑.๓ มีความกตัญญูกตเวที
๑.๔ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
๑.๕ ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
๑.๖ ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
๒.๑ รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
๒.๒ เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
๓.๑ มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
๓.๒ เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
๓.๓ ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
๓.๔ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
๓.๕ มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
๔.๑ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
๔.๒ สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
๔.๓ ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
๔.๔ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
๕.๑ มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
๕.๒ มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
๕.๓ สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
๕.๔ สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
๕.๕ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
๖.๑ มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
๖.๒สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
๖.๓ มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ ๗ ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
๗.๑ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
๗.๒มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
๗.๓ ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
๗.๔ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
๗.๕ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ ๘ ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
๘.๑ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
๘.๒ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
๘.๓ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
           การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
             โดยทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม 
             การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
             ๑. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
             ๒. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
             ๓. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
             ๔. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
             ๕. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
             ทางโรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
             ๑. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
             ๒. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
             ๓. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
             เป็นการปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
             นักเรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง