ให้นักศึกษาศึกษา Power point แล้วตอบคำถาม การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร? ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้ เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการ เชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ผังความคิด (Mind Map)
วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
สีขาว หมายถึง การคิดแบบอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงข้อมูล และตัวเลข โดยไม่มีอคติไม่ลำเอียง
- สวมบทบาทเป็นคอมพิวเตอร์ ให้ข้อเท็จจริงแบบเป็นกลาง และไม่มีอคติ ไม่ต้องตีความ ขอแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น อะไรคือข้อเท็จจริงต่างๆของเรื่องนี้ เมื่อครูต้องการให้เด็กคิดแบบสวมหมวกสีขาวก็ตั้งคำถามให้คิด
ตัวอย่าง ของคำถาม เช่น
๑. เรามีข้อมูลอะไรบ้าง
๒.เราต้องการข้อมูลอะไรบ้าง
๓.เราได้ข้อมูลที่ต้องการมาด้วยวิธีใด
สีแดง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก
- สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับข้อมูลที่เป็นกลาง ลางสังหรณ์ สัญชาตญาณ ความประทับใจ สิ่งที่ไม่ต้องการข้อพิสูจน์ สิ่งที่ไม่ต้องเหตุหรือผลหรือหลักฐานมาอ้างอิง
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
๑.เรารู้สึกอย่างไร
๒.นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ทำ
๓.นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับความคิดนี้
สีดำ หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของข้อควรระวัง และคำเตือน เป็นหัวใจของการคิด
- ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของเรื่องนั้น คอยเตือนภัยให้ระวังตัว สิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์ในอดีตอย่างไร ทำไมสิ่งนั้นอาจใช้การไม่ได้ ชี้ให้เห็นปัญหาและความยุ่งยาก การอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ ดำรงคุณค่าและจริยธรรม
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
๑. อะไร คือจุดอ่อน
๒.อะไรคือสิ่งที่ผิดพลาด
๓. อะไรคือสิ่งที่ยุ่งยาก
สีเหลือง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกที่ดี เป็นมุมมองในแง่บวก รวมถึงความหวัง และการคิดในแง่ดี เป็นการคาดการณ์ในเชิงบวก
- เป็นความคิดเชิงบวก สีเหลืองคือสีของแสงแดดและความสว่างสดใส การมองโลกในแง่ดี การมุ่งมองที่ผลประโยชน์ การคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
๑.จุดดีคืออะไร
๒.ผลดีคืออะไร
สีเขียว หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
- เป็นความคิดใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ การจงใจสร้างความคิดริเร่มใหม่ๆขึ้นมา ทางเลือกใหม่ๆ และอีกหลายทางเลือกใหม่ๆ การเปลี่ยนแป ลง และแง่มุมใหม่ในการมองปัญหา
ตัวอย่าง ของคำถาม เช่น
๑.นักเรียนจะนำความคิดนี้ไปทำอะไร
๒.ถ้านักเรียนจะทำ ให้สิ่งนี้...(ดีขึ้น)...จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไร
สีฟ้า หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของการคิดแบบควบคุม การจัดระบบกระบวนการคิด และการใช้หมวกอื่นๆ
- เป็นการคิดที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการคิด การควบคุมหมวกคิดใบอื่นๆ เป็นการมองภาพรวมข้อสังเกตและสถานการณ์โดยรวม สรุปและลงมติ
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
๑.อะไรที่ต้องการ
๒.ขั้นตอนต่อไปคืออะไร
๓.อะไรที่ทำไปก่อนแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น